kumkom02

Our Customer

  • Photo Title 1
  • Photo Title 2
  • Photo Title 3
  • Photo Title 4
  • Photo Title 5

Poll

ท่านมีความสนใจในสินค้าประเภทใดของเรามากที่สุด
 

Stats

mod_vvisit_counterToday46
mod_vvisit_counterAll days389688

Today: Nov 30, 2024

News

รับสมัครพนักงานขาย

รับสมัครพนักงานขาย part time / full time มีประสบการณ์ตรงด้านเคมีบำบัด Bioler, cooling Chiler รายได้ดี มีท่องเที่ยว

แนวทางการลดการสูญเสียจากน้ำระบาย

bottom-blowdown

การระบายน้ำออกจากหม้อไอน้ำ หรือ โบล์วดาวน์ เป็นการสูญเสียพลังงานที่สำคัญอย่างหนึ่ง รองจากการสูญเสียไปกับก๊าซไอเสีย โดยทั่วไปควรมีปริมาณน้ำที่ระบายออกไม่เกินร้อยละ 5 ของปริมาณน้ำป้อนเข้าหม้อไอน้ำ

เหตุผลที่ต้องระบายน้ำออกจากหม้อไอน้ำ

น้ำป้อนที่เข้าหม้อไอน้ำมีสารละลายและสารแขวนลอยอยู่จำนวนหนึ่ง เมื่อน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำจะทำให้ความเข้มข้นของสารละลายและสารแขวนลอยเพิ่มขึ้นและจะก่อให้เกิดหยดน้ำและฟองติดไปกับไอน้ำ เรียกว่า Carry Over ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเครื่องผลิตไอน้ำ (Boiler)
เครื่องผลิตไอน้ำ หรือ Boiler คือ “เครื่องผลิตไอน้ำ คือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อความร้อน ที่มีความดันต่างจากบรรยากาศ” หรือในความหมายที่เป็น เครื่องผลิตไอน้ำ เพื่อส่งจ่ายไอน้ำร้อน 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar ไปยังเครื่องจักรที่ต้องการใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต หรือในความหมายที่เป็น ลูกระเบิดจุน้ำ 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar นั่นเอง
สาเหตุที่ทำให้หม้อไอน้ำระเบิดโดยทั่วๆ ไป สามารถสรุปได ้ดังนี้ คือ  1 น้ำแห้งหม้อ เนื่องจากช่างไฟไม่เอาใจใส่ เลินเล่อ ไม่ค่อยดูแลระดับน้ำในหม้อไอน้ำ ถ้าเป็นหม้อไอน้ำสมัยใหม่ที่มีสัญญาณเตือนภัยระดับน้ำต่ำหรือสัญญาณดับไฟที่หัวเผาไม่ทำงาน ส่วนบนของห้องเผาไหม้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงจะร้อนแดงและยุบตัวประกอบกับความดันไอน้ำภายใน ดันให้หม้อไอน้ำแตกระเบิดออกได้  2 หม้อไอน้ำมีสภาพเก่ามาก เนื้อเหล็กบางจนทนความดันไอน้ำไม่ได้ 3 ลิ้นนิรภัย (Safety Valve) ไม่ทำงาน ถ้าความดันไอน้ำในหม้อไอน้ำเกิดสูงขึ้น เกินความดันไอน้ำใช้งาน และลิ้นนิรภัย (Safety Valve) ไม่เปิดให้ไอน้ำระบายออกความดันไอน้ำในหม้อไอน้ำสูงขึ้นเกินกำลังความแข็งแรงของหม้อไอน้ำ หม้อไอน้ำอาจระเบิดได้  4 มีตะกรัน (Scale) จับตามผิวเตาด้านสัมผัสกันน้ำมากเกินไป หรือผิวเตาด้านสัมผัสกับไฟมีคราบน้ำมันจับหนาเกินไป ทำให้บริเวณนั้นได้รับความร้อนจัด
เนื้อโลหะบริเวณนั้นจะอ่อนตัว ความดันภายในหม้อไอน้ำจะดันให้หม้อไอน้ำแตกชำรุดได้  5 ช่องทางที่ก๊าซร้อนผ่านออกแคบลงเนื่องจากมีเขม่าจับมากเกินไป ก๊าซร้อนภายในเตาจะสะสมมากขึ้นๆ อาจทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิเนื้อโลหะสูงกว่า 600 F อาจทำให้เตายุบตัวพังได้
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยหม้อไอน้ำ
แม้ว่าหม้อไอน้ำจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และประกอบขึ้นด้ว ยชิ้นส่วนที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถที่จะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความ
ปลอดภัยเพิ่มเข้าไปด้วย ดังนี้
1.ลิ้นนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของหม้อไอน้ำ ใช้สำหรับป้องกันหม้อไอน้ำระเบิด เนื่องจากความดันสูง โดยทำหน้าที่ระบายไอน้ำออกไปภายนอก เมื่อเกิดภาวะที่ความดันภายในหม้อน้ำสูงเกินกว่าที่ ตั้งไว้ โดยลิ้นนิรภัย มี 3 แบบ คือแบบสปริง แบบน้ำหนักถ่วงโดยตรง และแบบคานน้ำหนัก โดยการเลือกใช้ควรเลือกลิ้นนิรภัยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่าลิ้น ไม่ต่ำกว่า ½ นิ้ว และควรติดตั้งลิ้นนิรภัยไว้ใกล้หม้อไอน้ำมากที่สุด และไม่มีวาล์วคั่น ในกรณีที่หม้อไอน้ำมีพื้นที่รับความร้อนมากกว่า 500 ตารางฟุต ควรมีลิ้นนิรภัย 2 ชุด
2.ฝานิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ใช้กับหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซ ช่วยป้องกันแรงกระแทกที่เกิดจากการระเบิดของแก๊สที่ค้างอยู่ในห้องเผาไหม้ มิฉะนั้นแล้วชุดหัวฉีดจะชำรุดได้ สามารถติดตั้งได้ที่ด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังของหม้อไอน้ำ
3.เครื่องควบคุมระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งไว้กับหม้อ ไอน้ำทุกเครื่อง โดยเฉพาะหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนด นิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ แบบอิเล็กโทรด และแบบลูกลอยสวิตซ์ควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือตั้งไว้ การทำงานจะอาศัยความดันควบคุมหัวฉีด
4.เครื่องดักไอน้ำ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับระบายน้ำที่ค้างอยู่มากในท่อ ให้ออกไปภายนอก สาเหตุที่ควรติดตั้ง เพราะไอน้ำที่ออกจากหม้อไอน้ำ เมื่อสัมผัสกับท่อจ่ายไอน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำค้างอยู่ตามท่อ ถ้าปริมาณน้ำที่ค้างอยู่มาก ก็จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้ประสิทธิภาพของไอน้ำลดลง
5.สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์แจ้งอันตรายเมื่อระดับน้ำในหม้อน้ำต่ำกว่าที่ใช้งานปกติ โดยสามารถที่จะติดตั้งร่วมกับเครื่องควบคุมระดับน้ำ หรือบางชนิดอาจติดตั้งแยกต่างหากก็ได้ โดยสัญญาณที่เตือนภัยมีทั้งที่เป็นแบบเสียง และแบบแสง
การตรวจสอบหม้อน้ำและระบบไอน้ำ ตามมาตราฐาน
1.ต้อง ถ่ายรูปให้เห็นหน้าวิศวกรผู้ตรวจทดสอบหม้อน้ำ ขณะกำลังทำการตรวจ และต้องแนบรูปถ่ายนี้ พร้อมเอกสารรับรองความปลอดภัย ในการใช้หม้อน้ำ ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2.ต้อง หยุดการใช้หม้อน้ำเพื่อทำการตรวจสอบความปลอดภัย ผู้เกี่ยวข้องและผู้ควบคุมหม้อจะต้องอยู่ในวันที่ทำการตรวจทดสอบ
3.ต้อง ตรวจสอบหม้อไอน้ำภายนอก ( External Inspection )
4.ต้อง ตรวจสอบหม้อน้ำภายใน ( Internal Inspection )
5.ต้อง ทดสอบความแข็งแรงหม้อน้ำด้วยการอัดน้ำ ( Hydrostatic Test )
6.ต้อง ทำการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ (Function Test)
7.ต้อง ทำการตรวจอุปกรณ์ทั่วไป ( General Equipment )
8.ต้อง กรอกข้อมูลหม้อน้ำลงในแบบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดเรียบร้อย และผู้ประกอบกิจการโรงงานลงนามพร้อมประทับตรายาง (กรณีเป็นนิติบุคคล) แล้วส่งต้นฉบับไปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณา ภายใน 30 วันหลังการตรวจทดสอบ   ข้อเสนอแนะมาตรการปรับปรุง ๐ ควรดูตู้ควบคุมของหม้อน้ำให้ใช้งานได้ตามปกติ ๐ ต้องปรับแก้ให้ระบบออโตเมติกของหม้อน้ำทำงานได้ตามปกติทั้งระบบ และต้องเอาใจใส่ในการบำรุงรักษาให้ดี ๐ แบตเตอร์รี่กระแสไฟตรงและระบบทั้งหมดต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ๐ อุปกรณ์ประกอบต่างๆ เช่น พัดลมดูดอากาศเข้าเตา เครื่องตรวจจับสัญญาณการเผาไหม้ และอุปกรณ์จุดเตาต้องได้รับการ แก้ไขให้ใช้งานได้ตามปกติ ๐ ต้องจัดให้มีระเบียบวิธีบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีระบบให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ๐ ต้องปฏิบัติตามระเบียบวิธีในการตรวจสอบและซ่อมบำรุงประจำปี ๐ ควรเพิ่มจำนวนการฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติงานและช่างซ่อมบำรุงให้เพียงพอต่อการควบคุมและบำรุงรักษาเครื่อง
กฎหมายเกี่ยวกับ Boiler
กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 8 (7) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 2 โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจและการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ ข้อ 3 โรงงานที่ประกอบกิจการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ (boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการผลิต การตรวจ และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ข้อ 4 โรงงานที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษในระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อ 5 โรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน แหล่งที่มา วิธีการใช้ และการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี ข้อ 6 ให้โรงงานที่มีการผลิต การเก็บ หรือการใช้วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ต้องจัดทำข้อมูลความปลอดภัย (material safety data sheet) เกี่ยวกับลักษณะอันตรายตามคุณสมบัติของวัตถุนั้น ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
เรียบเรียงโดย นายบรรณกร สัณฐมิตร และทีมงานศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
face-book : ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สิ่งทอ

อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเครื่องผลิตไอน้ำ (Boiler)

boiler

เครื่องผลิตไอน้ำ หรือ Boiler คือ “เครื่องผลิตไอน้ำ คือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อความร้อน ที่มีความดันต่างจากบรรยากาศ” หรือในความหมายที่เป็น เครื่องผลิตไอน้ำ เพื่อส่งจ่ายไอน้ำร้อน 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar ไปยังเครื่องจักรที่ต้องการใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต หรือในความหมายที่เป็น ลูกระเบิดจุน้ำ 120 – 140 องศา หรือ 4-5 bar นั่นเอง

ไฟไหม้โรงงานผลิตไฟฟ้า สาเหตุจากระบบหล่อเย็น

news-update-01-rodchana

เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (22 ก.พ.) นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายเรวัติ ประสงค์ นายอำเภออุทัย เข้าอำนวยการทำงานของเจ้าหน้าที่ระงับเหตุเพลิงไหม้ภายในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นโรงงานแห่งที่ 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้างและทดลองเดินระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ โครงการ 2 อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะเกิดเหตุมีพนักงานและคนงานรับเหมาก่อสร้างเกือบ 300 คน และวิศวกรชาวญี่ปุ่นเกือบ 30 คน กำลังปฏิบัติหน้าที่พากันวิ่งหนีออกจากจุดเกิดเหตุ ท่ามกลางกลุ่มควันไฟ โดยรถดับเพลิงจากหน่วยงานกว่า 20 คัน และชุดดับเพลิงของโรงไฟฟ้าใช้เวลานานกว่า 30 นาที จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด พร้อมฉีดน้ำและสารเคมีหล่อเลี้ยงไว้อีก 1 ชั่วโมง เพลิงจึงสงบ เบื้องต้นพบว่าเพลิงลุกไหม้บริเวณมอเตอร์ไฟฟ้าของระบบหล่อเย็นของระบายความร้อนในส่วนของกระบวนการผลิต ส่วนความเสียหายต้องรอให้เจ้าหน้าที่ประเมินอีกครั้ง เคราะห์ดีไม่มีพนักงานได้รับบาดเจ็บ มีเพียงสำลักเล็กน้อยกว่า 10 ราย ด้านนายธนา พุฒรังษี รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งเหตุไฟไหม้โรงไฟฟ้าโรจนะ เมื่อเวลา 15.50 น. แต่สามารถควบคุมเพลิงได้ ไม่กระทบต่อระบบผลิตไฟฟ้าแต่อย่างใด และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ กำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ ยังไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เป็นช่วงการทดสอบ และเกิดไฟไหม้ที่คูลลิ่งทาวเวอร์ ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงไฟฟ้าโรจนะผลิตไฟฟ้ารวม 270 เมกะวัตต์ ผลิตขาย กฟผ. 90 เมกะวัตต์ ที่เหลือจำหน่ายแก่โรงงานต่างๆ ในเขตอุตสาหกรรมโรจนะ.-สำนักข่าวไทย

 

Tel

0-2001-1909

Fax

0-2001-1909

e-mail

nisshin2012@hotmail.com